วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550

การทดลองครั้งที่1

จากที่ผ่านมาได้คำปรึกษาจากอาจารย์มาจนวินาทีสุดท้าย ก้อยังงงๆแต่ก้อกะจะไม่มัวแต่งงก้อจะเริ่มทดลองงานเรยครั้งนี้ทดลองครั้งแรก คิดว่าจะเริ่มจากความว่างปล่าว เริ่มจากความรุ้ศิลปะเมื่อครั้งยังสดใส วัยแรกแย้ม


เริ่มจากงานทดลองแรก ได้เอาสีมาหยด แล้วพับกระดาษ มันจะเกิดภาพใหม่มา(ที่เคยทำครั้งวัยเยาว์ หนุกดี) เปนการพับจึงเกิดการซ้ำขึ้นของด้านทั้งสองด้าน


ต่อไปก้อลองการซ้ำโดยทำเป็นแพทเทิล ทำการซ้ำแบบมีระบบดู มันก้อได้แค่งานแพทเทิลขึ้นมาหนึ่งงชิ้น - -" คิดไม่ออก


แล้วก้อเริ่มเปลี่ยนเปนการหยดสีวิทีแรกและการใช้แอร์บรัชพื้นบ้านพ่น(แปรงสีฟัน+นิ้วโป้ง)พ่นสีหลายๆสีทำซ้ำกันแบบไร้ระบบพร้อมกัน ก้อดูมีอะไร อะไรเพิ่มขึ้น


และผมได้ไปเจอกับใบมะม่วง(มั้ง)โดยทั้งต้นใบนั้นโดนหนอนแทะไปหมด มันก้อเกิดรูในแต่ละใบมีหลายๆรู เปนการซ้ำของรู ก้อเลยเด็ดมาสองใบเผื่อมาทำไรได้ แต่เมื่อมาลองใช้สีทาดูเพื่อให้มันหยดลงตามรู แต่งานกลับเละควบคุมไม่ได้ เพราะใบเริ่มแห้งและก้อไม่เรียบ ลองแต่ละวิทีแร้วเละ จึงหยุดใบไม้รูไว้ก่อน

แล้วก้อเริ่มมาดูที่กระดาษ ลองตัดกระดาษเป๋นวงกลม หลายๆวงแล้ววางไว้บนกระดาษอีกแผ่น แล้วได้ลองพ่นสี
ดูก้อเกิดเปนงานอีกแบบ โดยที่ตรงที่เราเล่นสีเกิดการสำของจุดเล็กๆ แต่ที่เราบังไว้กลับเป็นลายวงกลมๆที่ไม่ได้ทำอะไรขึ้นมา ก้อดูได้ว่างานซ้ำก้อเกิดกับส่วนที่เราไม่ได้ลงมือทำได้เหมือนกัน
ปล. แก้ไขเรียบร้อย

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ทับซ้อน ลวงตา

เมื่อศึกษาการซ้ำ (Repetition) ชิ้นงานที่มีการซ้ำเกิดขิ้น บางงานจะมีงานที่ซ้ำและมีการทับซ้อนกัน (Overlaping)




เมื่อมองวัตถุต่าง ๆ ทีทับซ้อนกัน โดย วัตถุที่ถูกบัง จะเห็นแต่เพียง บางส่วน โดยมีบางส่วน ใด้หายไป เรากลับไม่รู้สึกว่าวัตถุที่ถูกบังนั้น มีความ ไม่สมบูรณ์ ตามที่มองเห็น แต่จะรู้สึกว่า วัตถุที่ถูกบัง จะอยู่ไกลกว่า มีตำแหน่งในพื้นที่ว่าง อยู่หลังวัตถุที่ อยู่ข้างหน้า วิธีการเหลื่อมซ้อนกัน ของวัตถุนี้ ทำให้เกิด การลวงตา ในระนาบ 2 มิติ ให้ดูมี ระยะ มีพื้นที่ว่าง มีอากาศ ล้อมรอบระหว่างวัตถุเหล่านั้น
เมื่อการซ้ำเกิดเปนลวดลายขึ้นมามากๆก้อจะเหนงานที่เกิดเป็นภาพลวงตา








แ น ว ท า ง

การซ้ำที่ส่งผลต่ออารมณ์
ผมเริ่มจากหาข้อมูลความหมาย และประเภทของการซ้ำ ที่ลองหามาได้ก้อเป็นการซ้ำแบบเป็นงานpattern













การซ้ำ (Repetition) คือ การปรากฎตัวของหน่วยที่เหมือนกันตั้งแต่ 2หน่วยขึ้นไปเป็นการรวมตัวกันของสิ่งที่มีอยู่ฝ่ายเดียวเข้าด้วยกันเช่นการซ้ำของน้ำหนักดำการซ้ำของเส้นตั้งการซ้ำของน้ำหนักเทาการซ้ำของรูปทรงที่เหมือนกันเป็นต้น
การซ้ำสามารถใช้ประกอบโครงสร้างสิ่งต่างๆให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้นเช่นกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ลวดลายผ้าเป็นต้นสิ่งสำคัญของการซ้ำคือส่วนประกอบของการซ้ำและหลักการจัดองค์ประกอบของการซ้ำเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสร้างและต้องเข้าใจในหลักการประกอบส่วนย่อยนั้นเข้าด้วยกัน ซึ่งการซ้ำสามารถแบ่งออกเป็นทั้งหมด 8รูปแบบ



1. การเรียงลำดับ (Translation in step)






2. การสลับซ้าย-ขวา (Reflection about line)




3. การหมุนรอบจุด (Rotation about a point)




4. การสลับซ้าย-ขวาและหมุนรอบจุด (Reflection and rotation)




5. การสลับซ้ายขวาและเรียงลำดับ (Reflection and translation)


6. การหมุนรอบจุดและเรียงลำดับ (Rotation and translation)






7. การเรียงลำดับสลับจังหวะ (Reflection and alternate translation)





8. การผสมระหว่างเรียงลำดับ สลับจังหวะและหมุนรอบจุด (Reflection, rotation and translation)




และอีกรูปแบบการซ้ำู การซ้ำสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบ ดังนี้


1. การซ้ำแบบเหมือนกัน เป็นการซ้ำขององค์ประกอบที่มีขนาดน้ำหนัก หรือลักษณะเดียวกันเรียงต่อเนื่องกันไป


2. การซ้ำแบบลดหลั่น เป็นการซ้ำขององค์ประกอบที่มีขนาดน้ำหนัก หรือลักษณะแตกต่างกัน เรียงจากมากไปน้อย หรือน้อยไปมาก


3. การซ้ำเป็นจังหวะ เป็นการซ้ำของชุดองค์ประกอบที่มีลักษณะเหมือนกันเรียงต่อเนื่องกันไป ซึ่งภายในชุดองค์ประกอบ 1 ชุดนี้จะประกอบด้วยหน่วยย่อยที่มีขนาด น้ำหนัก หรือลักษณะแตกต่างกัน


4. การซ้ำแบบไม่เป็นจังหวะ เป็นการซ้ำของชุดองค์ประกอบลักษณะหนึ่งๆ อย่างอิสระ ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยที่แน่นอน

และเมื่อเกิดการซ้ำขึ้นก็จะได้เรื่องของ จังหวะ(rythm)เข้ามามีส่วนร่วม เพราะจังหวะเกิดจากการซ้ำกันอย่างต่อเนื่องและมีเอกภาพขององค์ประกอบพื้นฐานที่มีลักษณะเหมือนกันตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไปบนที่ว่าง
รูปแบบของจังหวะ เราสามารถแบ่งจังหวะได้เป็น 3 รูปแบบดังนี้

จังหวะซ้ำ เป็นจังหวะขององค์ประกอบที่มีลักษณะเหมือนกันเรียงต่อเนื่องกันไป

จังหวะสลับ เป็นจังหวะขององค์ประกอบที่มีลักษณะสลับกันไปมาอย่างเป็นระเบียบ

จังหวะแปร เป็นจังหวะขององค์ประกอบที่มีการเปลี่ยนแปลงของลักษณะไปทีละเล็กละน้อย

และจากที่ผมคิด การdrawing ก้อเปนการซ้ำของลายเส้น ที่ขีดๆ ตวัดไปเรื่อยๆจนเกิดเป็นภาพผมอาจใช้การซ้ำของลายเส้นdrawingในการทดลอง ประมาณว่าลองวาด ซ้ำเส้นที่ให้ความรุ้สึกอย่างหนึ่งแต่วาดออกมาเป็นรูปที่ให้ความรู้สึกตรงกันข้ามจะเป็นยังงัย เช่นใช้เส้นที่พริ้วๆวาดก้อนหิน หรือของแข็งทื่อๆจะให้ความรู้สึกอย่างไร หรือลองใช้การซ้ำของเส้นที่แข็งๆ แต่วาดภาพที่อ่อนช้อย จะให้ความรู้สึกอย่างไร

การซ้ำ ช่วยสร้างการจดจำ?

การซ้ำกับการย้ำต่างกันไหม อย่างไร?

ผลของการซ้ำ จะมีผลต่ออารมณ์ทางด้านไหน?

เมื่อทำก้อเกิดปัญหา เกิดคำถามเพิ่มขึ้นเยอะแยะจนบางทีก้อเบลอไป จนลืมอะไรๆที่สำคัญๆหลายอย่าง แต่ก้อได้ข้อมูลเพิ่มเติม อาจจะยังไม่ตรงประเดนมากนัก แต่ก้อมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเดนที่เลือก

ไม่ชอบวิชาการเลย ไม่ถนัดใช้ความรุ้ แต่อยากมี






วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2550

in da pub



เชิญชมเล่น เล่น*no bar lay
เปนงานอนิเมสั้น(อนิเมชั่น+สั้น)ชิ้นแรกที่ทำจากAfter Effect เปนงานคาแรคเตอร์หุ่นกระบอก ผมจึงออกแบบเป็นตัวเอง(คิดไม่ออก หรือต้องการเจ้าตัวนี้ก้อไม่รู้)จึงใช่เจ้าHoNมาอยู่ในผับ เหตุผลเพราะมันเป็นงานที่มีเวลาสั้น จึงอยากใช้แสงสีที่คล้ายๆในผับเป็นจุดสนใจของงาน และมีเพลงที่สนุก มันส์ ตัวคาแรคเตอร์ก้อเต้นบ้าๆ ดูเพลินดี(หวังว่านะ) ก้อเป็นงานชิ้นแรก เพิ่งรุ้ว่าคัยที่ทำงานประเภทนี้ต้องถึกจิงๆ ในงานต่อๆไปคงมีอารัยที่เป็นชิ้นเป็นอันมากกว่านี้ ถ้าอยากให้เนียนคงต้องศึกษาอีกเยอะ (-_-")