วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551

จุลภาค สู่ มหภาค



อ่านเจอบทความที่เกี่ยวกับ"จุลภาค" และ "มหภาค"มา ถึงจะไม่เกี่ยวกับที่เราต้องเรียนรู้มากนัก แต่มันก้อมีประโยชน์สักกะหน่อยนึง ความว่า
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้การดำเนินชีวิตของเราๆ ท่านๆ เปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทเข้ามาอยู่ในเมืองใหญ่ เพราะความจำเป็นในหน้าที่การงานการทำมาหากิน พื้นที่ที่เคยเป็นเรือกสวนไร่นาได้แปรเปลี่ยนไปเป็นตึกรามบ้านช่องทั้งเล็กทั้งใหญ่ ปลูกกันขึ้นเต็มไปหมด เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพเมื่อ 10-20 ปีก่อนอย่างไม่เหลือเค้าเดิม
กระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงที่มีมาทุกยุคทุกสมัย ทำให้กระบวนการคิดแก้ปัญหาจัดวางตำแหน่ง, ทำเลและที่อยู่อาศัยด้าน "เคหะศาสตร์" เองก็จำเป็นต้องมีการนำมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิผลตามสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปด้วย แม้ว่าในปัจจุบันไม่มีภูเขาหรือเนินดิน ไม่มีสายน้ำลำธารให้เห็น แต่ในทฤษฎีสายน้ำและภูเขาสามารถประยุกต์ใช้ได้กับสภาพที่เปลี่ยนไป ตึกสูงๆ จะกลายเป็นสัญลักษณ์แทนภูเขา มีความสูงสง่าเช่นกัน ถนนหนทางมีการไหลเวียนของยวดยาน เป็นสัญลักษณ์แทนสายน้ำ พื้นที่ที่มีข้างหลังเป็นภูเขา (ตึกสูง) มีการไหลเวียนของน้ำ (สภาวะการจราจรของยวดยานพาหนะบนถนนไม่ติดขัด) ย่อมส่งผลดีต่อการอยู่อาศัยและการค้าขาย เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงรอบๆ ด้านส่งผลให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงผิดปกติไป บางแห่งเกิดมลภาวะที่เป็นพิษ ทำให้ผู้อยู่อาศัยเจ็บป่วยทั้งกายและจิตใจ ในเมืองใหญ่ๆ ของประเทศ การจราจรเกิดความล่าช้าและติดขัด (ก่อให้เกิดสภาวะน้ำนิ่ง หากเปรียบถนนเป็นเสมือนสายน้ำ, รถยนต์ก็เปรียบเสมือนเรือทำนองนั้น หากน้ำนิ่งไม่ไหลเวียนตามหลักเคหะศาสตร์ท่านว่าไม่ดี น้ำจะเน่าเสียและมีกลิ่นไม่พึงประสงค์) ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อหลายๆ สิ่ง ทำให้เกิดความล่าช้าในการติดต่อสัมพันธ์หรือทำธุรกิจ ทำให้ประเทศสิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจปีละหลายพันล้านบาท
ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาล้วนเป็นผลสะท้อนจากการกระทำของเราต่อสภาพแวดล้อมทั้งสิ้น หากเราช่วยกันปรับสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น ช่วยกันคนละไม้ละมือ นับว่าเป็น "เคหะศาสตร์มหภาค" ที่เกิดจาก "เคหะศาสตร์จุลภาค" โดยเริ่มจากจุดเล็กๆ ช่วยกันสร้างจนเป็นพลังที่ใหญ่ ส่งผลให้พลังชีวิตดี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีความเจริญรุ่งเรืองย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551

เราอยู่ที่จุดไหน??

ในปัจจุบันไม่ว่าเราจะหันมองทางไหน รอบตัวเราเต็มไปด้วยงาน ออกแบบกราฟฟิก ไม่ว่าจะเป็นถุงใส่ของ ปกซีดี ปฏิทินตั้งโตะ หน้าจอคอมพิวเตอร์ เว็บไซต์ กระทั่งผนัง ของอาคารร้านค้าบางแห่ง ชีวิตเราถูกผสมผสานเข้ากับงานกราฟฟิกจนแทบจะไม่รู้สึก ถึงความแปลกแยกระหว่างเราทุกคนกับมัน เมื่อเราเลือกที่จะเป็นนักออกแบบกราฟฟิก หนทางที่จะเป็นไปได้นั้นเราจะต้องผ่านอะไร มีคุณสมบัติอย่างไรในการที่จะก้าวข้ามไป ก่อนอื่นเราลองถามตัวเองดูก่อนดีไหมว่า เราอยู่ที่จุดไหน ????
- คนในระดับทั่วไป ว่้ากันว่าคนเราโดยทั่วไปมีเซ็นส์ของความมีศิลปะอยู่ภายในกันทุกคนอยู่แล้ว ไม่ว่า ใครก็สามารถตัดสินงานวิจารณ์งานได้ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ก็มักจะเป็นเรื่องของความสวยความงามเป็นหลัก ซื่งจะว่าไปแล้วความสวยงามไม่มีข้อถูกข้อผิดในการตัดสิน (และเป็นเพียงเรื่อง ๆ หนึ่งในการออกแบบเท่านั้น) คนเราทุกคนมองไม่เหมือนกันแต่ก็มีแนวโน้มที่จะมองเห็นไปในทางเดียวกันมากกว่าเราเองทุกคนก็อยู่ ในจุดนี้ เริ่มกันที่จุดนี้
- คนที่มองงานเป็น วิจารณ์งานได้ มองงานเป็นวิจาณ์งานได้นั้นคือ คนที่อยู่ในอีกจุดหนึ่งเป็นจุดที่คนเหล่านั้นให้ความสนใจในงานกราฟฟิกมากขึ้นมาอีกระดับ มีความเข้าใจในภาพในองค์ประกอบต่าง ๆ ที่อยู่ในภาพ สามารถคิด วิเคราะห์และวิจารณ์งานได้
- คนที่สามารถออกแบบงานกราฟฟิกได้ คนที่ออกแบบได้คือ คนที่สามาถคิดสังเคราะห์โจทย์ แนวความคิด เข้าใจในองค์ประกอบพื้นฐานและองค์ประกอบสี และควบคุมองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในภาพ หรือ สามารถจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในภาพให้ออกมาได้อย่างลงตัวและสามารถถ่ายทอดภาพงานให้เป็นไปดังที่นึกคิด ที่จินตนาการเอาไว้
- คนที่ออกแบบงานกราฟฟิกได้ดี คนที่ออกแบบงานกราฟฟิกได้ดีคือ คนในระดับที่ 3 ที่ได้รับการฝึกฝนเรียนรู้และหาความรู้เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ เพราะงานกราฟฟิกนั้นแปรเปลี่ยนสไตล์ได้ทุกวัน เทรนด์ ( Trend ) หรือแนวโน้มแห่งสมัยมีอิทธิพลต่องานเป็นอย่างมาก ดังนั้นคนที่จะเก่งได้ต้องทันต่อยุคสมัย ดูเยอะ ๆ ทำเยอะ ๆ จนกว่าจะหาสไตล์หรือเอกลักษณ์ ของตัวเองได้นั่นเอง
แล้วตอนนี้หล่ะคุณอยู่ที่จุดไหน?? ว่างัยเพื่อน ๆ คนเก่งต้องดุเยอะ ๆ ทำเยอะ ๆ เพื่อนๆทำmicro และmacroเยอะยัง 555+(เส้า)

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551

My Presentation!! กัวโดนโหวดออก


เป็นpresentation เรื่องการซ้ำ เป็นข้อมูลที่ได้จากการทำงานทั้งหมด ทั้งงานทดลอง และการค้นคว้าข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับการซ้ำ

























วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551

happy new year 2008


Photobucket (การซ้ำของหิมะ)
& happy new year 2008,

ในช่วงหยุดปีใหม่ผมกอ้ได้ทดลองงาน ไปเรื่อยๆ เพื่อหาประเดน ทำโปรเจคให้ได้ก่อนโดนเชือด แต่จนบัดนี้แร้วประเดนที่แสวงหาอยุ่นั้นก้อไม่ค้นพบสักที ดูจากบริบทตัวงานแร้วแต่ก้อยังตัน หัวตื้อ พอจะเข้าเรื่องวิชาการ ใช้ความรู้ สมองมันก้อไม่ทำงาน ส่วนตอนนี้ก้อทดลองหาเทคนิควิธีแปลกๆให้เกิดการซ้ำขึ้น แต่คงต้องพายามต่อไป เพื่อสิ่งนี้

ที่แน่ๆชัวๆเรยไม่ถึง500ชิ้น(- -")

งานทดลอง


-ใช้ปากกาขีดเขียนให้เกิดการซ้ำ เพื่อบอกถึงอารมณ์ที่ต่างกัน


-งานชิ้นแรก เป็นงานซ้ำที่เกิดจากการerror ของหน้าจอdesktop เมื่อใช้เม้าส์ลากโปรแกรมจึงเกิดเป็นการซ้ำอย่างหนึ่ง
-เป็นการใช้การstamp (เทคนิคพื้นบ้าน)



- การใช้ตะปูร้อยกับลวดบางเส้นเล็ก แปลกใหม่
-งานชิ้นที่2 ใช้การซ้ำของตัวไม้ยมก ไม้ยมกใช้ในการซ้ำจึงลองมาเล่นกับงานเผื่อมีประเด็นไรเกิดขึ้น




-วิธีนี้นำวงกลมมาใช้ในงาน ใช้วงกลมซ้ำๆกันตามภาพ ก้อเกิดลูกเล่นแปลกๆ มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นด้วย



-งานชิ้นแรก ใช้การพับกระดาษทับๆซ้ำไปมาเกิดลอยบนกระดาษแปลกใหม่ เด้งตัวได้
-เป็นการพับกระดาษแล้วตัดเฉียง พอคลี่ออกมาก้อใช้การโยงไคว่ไปมา แร้วนำมาต่อกัน6แผ่นก้อจะได้ดอกไม้(คล้ายๆหิมะ)ดอกโตหนึ่งดอก
-ใช้dotเรียงและซ้อนกันหลายๆจุด