วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ECO-CITY

เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม^^





ทุกวันนี้ทั่วโลกต่างกำลังเพชิญหน้ากับปรากฏการณ์ที่เป็นปัญหาอย่างหนัก ที่มีผลมาจากปัญหาภาวะโลกร้อน หลายประเทศจึงมีแนวคิดโครงการเมืองปลอดมลพิษขึ้นในอนาคตและจะมีการพัฒนา หนึ่งในนั้นคือ eco-cityในเมืองดงตัน ที่ตั้งอยุ่บนเกาะฉงหมิง ในนครเซี้ยงไฮ้ของจีน

จีนได้คิดสร้างเมืองปลอดมลพิษ... เพื่อให้ทันงาน World Expo 2010 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ ได้เริ่มงานการก่อสร้างโครงการสร้างเมืองปลอดมลพิษ (Eco-City) เป็นแห่งแรกของโลก ชื่อ ดงตัน (Dongton) อยู่บนเกาะชองมิง (Chongming) ลุ่มแม่น้ำแยงซี ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเซี่ยงไฮ้ วางแผนออกแบบโดยกลุ่มแอรัพ (Arup Group) บริษัทที่ปรึกษาของอังกฤษ

“เมืองปลอดมลพิษนี้ จำกัดปริมาณประชากร ไว้ที่ 5 แสน จากเริ่มแรก 8 พันคน แบ่งเขต ออกเป็นชุมชนเมือง Urban เขตการเกษตรผสมผสาน Ecofarms เขตอนุรักษ์ธรรมชาติ Natural Reserve และเขตป่าชายเลน Wetland...”


เพื่ออนุรักษ์พันธุ์สัตว์ต่างๆรวมทั้งนกและปลา ให้อาคารในเมืองสูงไม่เกิน 8 ชั้น ซึ่งถือว่าเป็นความสูงที่เหมาะกับประสิทธิภาพของการบริการสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น น้ำประปา และระบบให้ความอุ่นในฤดูหนาว มีการขุดคลองเพื่อการขนส่งทางน้ำ สำหรับการขนส่งทางถนน ให้ใช้ยานยนต์ที่ปลอดมลพิษ เช่น รถไฟฟ้า รถแบตเตอรี่ รถจักรยาน หรือเดินเท่านั้น ให้มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียงในชุมชน มีที่ทำงาน โรงพยาบาล โรงเรียน ร้านค้า ธนาคาร ใช้พลังงานทดแทนจากลม แสงอาทิตย์ นำน้ำเสียมาทำให้สะอาด หมุนเวียนใช้ใหม่ รวมไปถึงการกำจัดขยะที่ปลอดมลพิษมีคุณภาพ สร้างผลผลิตทางเกษตรและอาคารที่ปลอดสารพิษในชุมชน นำของที่ใช้แล้ว เช่น ขี้เถ้า และน้ำมันที่เหลือเศษมาทำให้เป็นประโยชน์อีก เป็นต้น

การสร้างเมืองปลอดมลพิษนี้ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม แต่ถือเป็นการนำความรู้ที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้ ทดลองพัฒนาสร้างเมืองที่มีคุณภาพ ประหยัด มีประสิทธิภาพ พึ่งตนเองตามแนวทางที่ควรจะทำ ให้เป็นรูปของเมืองเล็กที่สมบูรณ์ในเมืองใหญ่ขนาดยักษ์ (Self-Sufficient City within a Megacity)

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Manual for Eco Design Packaging








เป็นหนังสือที่น่าสนใจอย่างมาก สำหรับผุ้ที่ชอบเกี่ยวกับการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม

คู่มือ การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม(Manual for Eco Design Packaging)
ประกอบไปด้วยรายละเอียดที่เกี่ยวกับกลยุทธ์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อสิ่งแวดล้อม ดังนี้

- ออกแบบเพื่อลดส่วนประกอบที่เกินความจำเป็นในการบรรจุภัณฑ์
- ออกแบบให้บรรจุภัณฑ์มีน้ำหนักเบา ใช้วัสดุน้อย
- ออกแบบเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ ผลิตใหม่ รีไซเคิลและสามารถกำจัดทิ้งได้อย่างปลอดภัย
- ออกแบบโดยไม่ใช้บรรจุภัณฑ์
- ออกแบบให้สินค้ามีความเข้มข้นสูงหรือลดปริมาณน้ำ
- ออกแบบให้มีการรวมกลุ่มสินค้าต่อหน่วยบรรจุภัณฑ์
- ออกแบบให้ลดจำนวนสีที่ใช้พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์

เดี่ยวจะลองหาตัวอย่างภายในเล่มมาให้ดู เพราะสนใจเป็นการส่วนตัวและอาจจะได้ความรุ้บางอย่างจากภายในเล่มนี้ด้วยก็เปนได้

วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Helios House, BP gas station

จากเรื่องที่สนใจครั้งที่แล้วที่ข้อมูลยังไม่เพียงพอ จึงได้ศึกษาเพิ่มเติมกับปั๊มน้ำมันแห่งนี้ถึงโครงสร้างของตัวปั๊ม และวัสดุ ที่ใช้สร้าง มีการrecycle อย่างไร? สร้างขึ้นเพื่ออะไร? ช่วยสิ่งแวดล้อมอย่างไร?




















ปั๊มน้ำมันBP แห่งนี้ได้ออกแบบเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยสถาปนิกมีความคิดที่ให้ปั๊มนี้เปรียบเสมือน lerning lab เพื่อให้ผู้มาใช้ ได้เข้าใจ และศึกษาเรื่องสภาพแวดล้อมมากยิ่งขึ้น การใช้น้ำ การทำความร้อน การใช้พลังงาน การให้แสงสว่าง และ การเลือกใช้วัสดุของอาคารนี้ ได้ถูกออกแบบเพื่อให้มีประสิทธิภาพดีที่สุด

ที่ตั้งนี้เคยเป็นปั้มน้ำมันเก่ามาก่อน เป้าหมายที่สร้างprojectนี้ขึ้นมา เพราะต้องการอัพเกรดปั้มน้ำมัน โดยยังคำนึงถึงสภาพแวดล้อม โดยใช้วิธีrecycleจากวัสดุเก่า และใช้วัสดุใหม่เพิ่มเตมที่มั่นคง ถาวร แต่สามารถนำไปrecycleได้ในภายหลัง ผู้ออกแบบได้คำนึงถึงด้าน urban design ที่คิดถึงเรื่องสภาพแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ภายในตัวปั้มน้ำมัน ผู้ออกแบบได้พยายามใช้ส่วนประกอบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้าไปในโปรเจค และพยายามใช้ของเดิมที่มีอยุ่แล้วมากที่สุด ส่วนการติดตั้ง ทีมงานได้พยายามคิดวิธีติดตั้งให้ประหยัดเงิน แรงงาน และวัสดุให้น้อยที่สุดส้มแบบ




















น้ำ-ปั้มน้ำมันแห่งนี้ได้ออกแบบโดยมีการกักเก็บน้ำฝนโดยไม่ให้ไหลออกนอกsite เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนที่ตกลงมาปนเปื้อนคราบน้ำมันและไหลลงมาสู่ทางระบาน้ำสาธารณะ ส่วนนำที่กักไว้ก็ได้นำมากรอง บำบัดและเก็บไว้ในถังใต้ดิน 2,000 แกลลอน เพื่อนำมาใช้รดน้ำต้นไม้ต่อไป ส่วนห้องน้ำใช้สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำท้งหมด โถส้วมแบบdual flush ก๊อกน้ำแบบอัตโมต และการไหลของน้ำต่ำ














ความร้อนและพลังงาน - บนหลังคาได้ติดตั้ง solar panel ไว้90แผง ผลิตไฟฟ้าได้15,000kwh ซึ่งเพียงพอต่อปั๊มนี้ โคมไฟที่ใช้ก็เป็นแบบประหยัดพลังงานทั้งหมด การใช้stainless steel ที่หลังคาก็ช่วยสะท้อนแสงลงมาสู่พื้นเพื่อเพิ่มความสว่างได้








วัสดุ - วัสดุที่ใช้เป็นแบบ green material หลังคานำไปrecycleได้ พื้นคอนกรีตก้อมีส่วนผสมของแก้วที่ถูกrecycle ซึ่งก้อได้effectจากแก้วนั้นสะท้อนแสงระยิบระยับและก้อได้ช่วยลดปริมาณทรายที่ผสมในคอนกรีตด้วย

วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2551

start! comV

การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม

ปั๊มน้ำมัน BP Helios House ใจกลางกรุงลอสแองเจลิส เมืองใหญ่ที่แออัดไปด้วยรถยนต์ ปั๊มนี้ได้รับการออกแบบโดย Johnston Marklee & Associates of California ใช้เทคนิคการรีไซเคิลวัสดุเดิมกลับมาใช้ร่วมกับวัสดุใหม่ ซึ่งนอกจากรูปโฉมที่ดูโดดเด่นแปลกตาแล้ว หัวใจสำคัญของสถาปัตยกรรมชิ้นนี้คือ การ “ประหยัดทรัพยากร” โดยเฉพาะ
1. ระบบกักเก็บน้ำฝน เมื่อฝนตก น้ำฝนจะถูกเก็บไว้และนำไปผ่านเครื่องกรองเพื่อป้องกันการก่อตัวของ ไฮโดรคาร์บอน
2. ระบบผลิตพลังงาน แผ่นโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งมาพร้อมกับแผ่นโลหะหลังคาสามารถผลิต พลังงานไฟฟ้า ได้อย่างเพียงพอ แถมส่วนที่เป็นพื้นที่สีเขียวบนหลังคา เขาเลือกปลูกพันธุ์ไม้ชนิดที่ทนแล้งได้ดี ช่วยลด ความร้อนภายในอาคาร (และลดการใช้เครื่องปรับอากาศไปในตัว)
3. แสงสว่าง หลังคาที่ใช้แผ่นโลหะสามเหลี่ยมมาประกอบกันนั้นทำให้เกิดมุมลาดเอียง เพื่อสะท้อนแสงสว่าง ภายในพื้นที่ของอาคาร สามารถประหยัดพลังงานไปได้ถึง 16%
ปัจจุบัน BP Helios House ได้รับยกย่องจาก U.S. Green Building Council ให้เป็นผู้นำด้านดีไซน์เพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม การันตีโดยเครื่องหมาย LEED (Leadership in Energy and EnvironmentalDesign) และจะเป็นปั๊มตัวอย่างที่ BP ถอดแบบไปปรับปรุงปั๊มสาขาอื่นๆในอนาคตด้วย

จากบทความนี้ ปั้มน้ำมันก็ไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ที่ต้องเสียตังค์ เสียพลังงานอย่างเดียว แต่ถ้ามีไอเดียที่ทำให้ช่วยโลกได้ปั้มน้ำมันก้อจะช่วยทดแทนพลังงาน ประหยัดทรัพยากรไปด้วยในตัว เป็นการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง โดดเด่นทั้งดีไซน์และเทคนิคในการสร้างสรรค์ เพื่อทดแทนพลังงาน
เพื่อนๆ อาจนำไอเดียนี้มาสร้างงานในรูปแบบที่คล้ายกันได้ อย่างน้อยก็ทำให้ชาวโลกเห็นว่า “การประหยัดพลังงาน” นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกหนทุกแห่ง แม้กระทั่งใน “สถานที่ของการใช้พลังงาน” เองก็ตาม