วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551

จุลภาค สู่ มหภาค



อ่านเจอบทความที่เกี่ยวกับ"จุลภาค" และ "มหภาค"มา ถึงจะไม่เกี่ยวกับที่เราต้องเรียนรู้มากนัก แต่มันก้อมีประโยชน์สักกะหน่อยนึง ความว่า
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้การดำเนินชีวิตของเราๆ ท่านๆ เปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทเข้ามาอยู่ในเมืองใหญ่ เพราะความจำเป็นในหน้าที่การงานการทำมาหากิน พื้นที่ที่เคยเป็นเรือกสวนไร่นาได้แปรเปลี่ยนไปเป็นตึกรามบ้านช่องทั้งเล็กทั้งใหญ่ ปลูกกันขึ้นเต็มไปหมด เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพเมื่อ 10-20 ปีก่อนอย่างไม่เหลือเค้าเดิม
กระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงที่มีมาทุกยุคทุกสมัย ทำให้กระบวนการคิดแก้ปัญหาจัดวางตำแหน่ง, ทำเลและที่อยู่อาศัยด้าน "เคหะศาสตร์" เองก็จำเป็นต้องมีการนำมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิผลตามสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปด้วย แม้ว่าในปัจจุบันไม่มีภูเขาหรือเนินดิน ไม่มีสายน้ำลำธารให้เห็น แต่ในทฤษฎีสายน้ำและภูเขาสามารถประยุกต์ใช้ได้กับสภาพที่เปลี่ยนไป ตึกสูงๆ จะกลายเป็นสัญลักษณ์แทนภูเขา มีความสูงสง่าเช่นกัน ถนนหนทางมีการไหลเวียนของยวดยาน เป็นสัญลักษณ์แทนสายน้ำ พื้นที่ที่มีข้างหลังเป็นภูเขา (ตึกสูง) มีการไหลเวียนของน้ำ (สภาวะการจราจรของยวดยานพาหนะบนถนนไม่ติดขัด) ย่อมส่งผลดีต่อการอยู่อาศัยและการค้าขาย เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงรอบๆ ด้านส่งผลให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงผิดปกติไป บางแห่งเกิดมลภาวะที่เป็นพิษ ทำให้ผู้อยู่อาศัยเจ็บป่วยทั้งกายและจิตใจ ในเมืองใหญ่ๆ ของประเทศ การจราจรเกิดความล่าช้าและติดขัด (ก่อให้เกิดสภาวะน้ำนิ่ง หากเปรียบถนนเป็นเสมือนสายน้ำ, รถยนต์ก็เปรียบเสมือนเรือทำนองนั้น หากน้ำนิ่งไม่ไหลเวียนตามหลักเคหะศาสตร์ท่านว่าไม่ดี น้ำจะเน่าเสียและมีกลิ่นไม่พึงประสงค์) ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อหลายๆ สิ่ง ทำให้เกิดความล่าช้าในการติดต่อสัมพันธ์หรือทำธุรกิจ ทำให้ประเทศสิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจปีละหลายพันล้านบาท
ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาล้วนเป็นผลสะท้อนจากการกระทำของเราต่อสภาพแวดล้อมทั้งสิ้น หากเราช่วยกันปรับสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น ช่วยกันคนละไม้ละมือ นับว่าเป็น "เคหะศาสตร์มหภาค" ที่เกิดจาก "เคหะศาสตร์จุลภาค" โดยเริ่มจากจุดเล็กๆ ช่วยกันสร้างจนเป็นพลังที่ใหญ่ ส่งผลให้พลังชีวิตดี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีความเจริญรุ่งเรืองย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น: