วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Helios House, BP gas station

จากเรื่องที่สนใจครั้งที่แล้วที่ข้อมูลยังไม่เพียงพอ จึงได้ศึกษาเพิ่มเติมกับปั๊มน้ำมันแห่งนี้ถึงโครงสร้างของตัวปั๊ม และวัสดุ ที่ใช้สร้าง มีการrecycle อย่างไร? สร้างขึ้นเพื่ออะไร? ช่วยสิ่งแวดล้อมอย่างไร?




















ปั๊มน้ำมันBP แห่งนี้ได้ออกแบบเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยสถาปนิกมีความคิดที่ให้ปั๊มนี้เปรียบเสมือน lerning lab เพื่อให้ผู้มาใช้ ได้เข้าใจ และศึกษาเรื่องสภาพแวดล้อมมากยิ่งขึ้น การใช้น้ำ การทำความร้อน การใช้พลังงาน การให้แสงสว่าง และ การเลือกใช้วัสดุของอาคารนี้ ได้ถูกออกแบบเพื่อให้มีประสิทธิภาพดีที่สุด

ที่ตั้งนี้เคยเป็นปั้มน้ำมันเก่ามาก่อน เป้าหมายที่สร้างprojectนี้ขึ้นมา เพราะต้องการอัพเกรดปั้มน้ำมัน โดยยังคำนึงถึงสภาพแวดล้อม โดยใช้วิธีrecycleจากวัสดุเก่า และใช้วัสดุใหม่เพิ่มเตมที่มั่นคง ถาวร แต่สามารถนำไปrecycleได้ในภายหลัง ผู้ออกแบบได้คำนึงถึงด้าน urban design ที่คิดถึงเรื่องสภาพแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ภายในตัวปั้มน้ำมัน ผู้ออกแบบได้พยายามใช้ส่วนประกอบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้าไปในโปรเจค และพยายามใช้ของเดิมที่มีอยุ่แล้วมากที่สุด ส่วนการติดตั้ง ทีมงานได้พยายามคิดวิธีติดตั้งให้ประหยัดเงิน แรงงาน และวัสดุให้น้อยที่สุดส้มแบบ




















น้ำ-ปั้มน้ำมันแห่งนี้ได้ออกแบบโดยมีการกักเก็บน้ำฝนโดยไม่ให้ไหลออกนอกsite เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนที่ตกลงมาปนเปื้อนคราบน้ำมันและไหลลงมาสู่ทางระบาน้ำสาธารณะ ส่วนนำที่กักไว้ก็ได้นำมากรอง บำบัดและเก็บไว้ในถังใต้ดิน 2,000 แกลลอน เพื่อนำมาใช้รดน้ำต้นไม้ต่อไป ส่วนห้องน้ำใช้สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำท้งหมด โถส้วมแบบdual flush ก๊อกน้ำแบบอัตโมต และการไหลของน้ำต่ำ














ความร้อนและพลังงาน - บนหลังคาได้ติดตั้ง solar panel ไว้90แผง ผลิตไฟฟ้าได้15,000kwh ซึ่งเพียงพอต่อปั๊มนี้ โคมไฟที่ใช้ก็เป็นแบบประหยัดพลังงานทั้งหมด การใช้stainless steel ที่หลังคาก็ช่วยสะท้อนแสงลงมาสู่พื้นเพื่อเพิ่มความสว่างได้








วัสดุ - วัสดุที่ใช้เป็นแบบ green material หลังคานำไปrecycleได้ พื้นคอนกรีตก้อมีส่วนผสมของแก้วที่ถูกrecycle ซึ่งก้อได้effectจากแก้วนั้นสะท้อนแสงระยิบระยับและก้อได้ช่วยลดปริมาณทรายที่ผสมในคอนกรีตด้วย

ไม่มีความคิดเห็น: