
ปั๊มน้ำมัน BP Helios House ใจกลางกรุงลอสแองเจลิส เมืองใหญ่ที่แออัดไปด้วยรถยนต์ ปั๊มนี้ได้รับการออกแบบโดย Johnston Marklee & Associates of California ใช้เทคนิคการรีไซเคิลวัสดุเดิมกลับมาใช้ร่วมกับวัสดุใหม่ ซึ่งนอกจากรูปโฉมที่ดูโดดเด่นแปลกตาแล้ว หัวใจสำคัญของสถาปัตยกรรมชิ้นนี้คือ การ “ประหยัดทรัพยากร” โดยเฉพาะ
1. ระบบกักเก็บน้ำฝน เมื่อฝนตก น้ำฝนจะถูกเก็บไว้และนำไปผ่านเครื่องกรองเพื่อป้องกันการก่อตัวของ ไฮโดรคาร์บอน
2. ระบบผลิตพลังงาน แผ่นโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งมาพร้อมกับแผ่นโลหะหลังคาสามารถผลิต พลังงานไฟฟ้า ได้อย่างเพียงพอ แถมส่วนที่เป็นพื้นที่สีเขียวบนหลังคา เขาเลือกปลูกพันธุ์ไม้ชนิดที่ทนแล้งได้ดี ช่วยลด ความร้อนภายในอาคาร (และลดการใช้เครื่องปรับอากาศไปในตัว)
3. แสงสว่าง หลังคาที่ใช้แผ่นโลหะสามเหลี่ยมมาประกอบกันนั้นทำให้เกิดมุมลาดเอียง เพื่อสะท้อนแสงสว่าง ภายในพื้นที่ของอาคาร สามารถประหยัดพลังงานไปได้ถึง 16%
ปัจจุบัน BP Helios House ได้รับยกย่องจาก U.S. Green Building Council ให้เป็นผู้นำด้านดีไซน์เพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม การันตีโดยเครื่องหมาย LEED (Leadership in Energy and EnvironmentalDesign) และจะเป็นปั๊มตัวอย่างที่ BP ถอดแบบไปปรับปรุงปั๊มสาขาอื่นๆในอนาคตด้วย
ปัจจุบัน BP Helios House ได้รับยกย่องจาก U.S. Green Building Council ให้เป็นผู้นำด้านดีไซน์เพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม การันตีโดยเครื่องหมาย LEED (Leadership in Energy and EnvironmentalDesign) และจะเป็นปั๊มตัวอย่างที่ BP ถอดแบบไปปรับปรุงปั๊มสาขาอื่นๆในอนาคตด้วย
จากบทความนี้ ปั้มน้ำมันก็ไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ที่ต้องเสียตังค์ เสียพลังงานอย่างเดียว แต่ถ้ามีไอเดียที่ทำให้ช่วยโลกได้ปั้มน้ำมันก้อจะช่วยทดแทนพลังงาน ประหยัดทรัพยากรไปด้วยในตัว เป็นการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง โดดเด่นทั้งดีไซน์และเทคนิคในการสร้างสรรค์ เพื่อทดแทนพลังงาน
เพื่อนๆ อาจนำไอเดียนี้มาสร้างงานในรูปแบบที่คล้ายกันได้ อย่างน้อยก็ทำให้ชาวโลกเห็นว่า “การประหยัดพลังงาน” นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกหนทุกแห่ง แม้กระทั่งใน “สถานที่ของการใช้พลังงาน” เองก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น