
วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551
วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551
วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551
Communication Design5 (final Project)
เสดแล้วคับบบ...
Eco-City เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
Concept เป็นการเปรียบเทียบระหว่างเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยมลพิษทางอากาศ ทางเสียงและทางน้ำ กับเมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือเมืองที่ปลอดมลพิษ โดยให้เห็นถึงผลกระทบต่อร่างกายของเรา ทำออกมาในรูปแบบอนิเมชั่น เทคนิคมีทั้งstop motion และวีดีโอ^^
วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ECO-CITY
ทุกวันนี้ทั่วโลกต่างกำลังเพชิญหน้ากับปรากฏการณ์ที่เป็นปัญหาอย่างหนัก ที่มีผลมาจากปัญหาภาวะโลกร้อน หลายประเทศจึงมีแนวคิดโครงการเมืองปลอดมลพิษขึ้นในอนาคตและจะมีการพัฒนา หนึ่งในนั้นคือ eco-cityในเมืองดงตัน ที่ตั้งอยุ่บนเกาะฉงหมิง ในนครเซี้ยงไฮ้ของจีน
จีนได้คิดสร้างเมืองปลอดมลพิษ... เพื่อให้ทันงาน World Expo 2010 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ ได้เริ่มงานการก่อสร้างโครงการสร้างเมืองปลอดมลพิษ (Eco-City) เป็นแห่งแรกของโลก ชื่อ ดงตัน (Dongton) อยู่บนเกาะชองมิง (Chongming) ลุ่มแม่น้ำแยงซี ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเซี่ยงไฮ้ วางแผนออกแบบโดยกลุ่มแอรัพ (Arup Group) บริษัทที่ปรึกษาของอังกฤษ
“เมืองปลอดมลพิษนี้ จำกัดปริมาณประชากร ไว้ที่ 5 แสน จากเริ่มแรก 8 พันคน แบ่งเขต ออกเป็นชุมชนเมือง Urban เขตการเกษตรผสมผสาน Ecofarms เขตอนุรักษ์ธรรมชาติ Natural Reserve และเขตป่าชายเลน Wetland...”
เพื่ออนุรักษ์พันธุ์สัตว์ต่างๆรวมทั้งนกและปลา ให้อาคารในเมืองสูงไม่เกิน 8 ชั้น ซึ่งถือว่าเป็นความสูงที่เหมาะกับประสิทธิภาพของการบริการสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น น้ำประปา และระบบให้ความอุ่นในฤดูหนาว มีการขุดคลองเพื่อการขนส่งทางน้ำ สำหรับการขนส่งทางถนน ให้ใช้ยานยนต์ที่ปลอดมลพิษ เช่น รถไฟฟ้า รถแบตเตอรี่ รถจักรยาน หรือเดินเท่านั้น ให้มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียงในชุมชน มีที่ทำงาน โรงพยาบาล โรงเรียน ร้านค้า ธนาคาร ใช้พลังงานทดแทนจากลม แสงอาทิตย์ นำน้ำเสียมาทำให้สะอาด หมุนเวียนใช้ใหม่ รวมไปถึงการกำจัดขยะที่ปลอดมลพิษมีคุณภาพ สร้างผลผลิตทางเกษตรและอาคารที่ปลอดสารพิษในชุมชน นำของที่ใช้แล้ว เช่น ขี้เถ้า และน้ำมันที่เหลือเศษมาทำให้เป็นประโยชน์อีก เป็นต้น
การสร้างเมืองปลอดมลพิษนี้ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม แต่ถือเป็นการนำความรู้ที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้ ทดลองพัฒนาสร้างเมืองที่มีคุณภาพ ประหยัด มีประสิทธิภาพ พึ่งตนเองตามแนวทางที่ควรจะทำ ให้เป็นรูปของเมืองเล็กที่สมบูรณ์ในเมืองใหญ่ขนาดยักษ์ (Self-Sufficient City within a Megacity)
วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2551
Manual for Eco Design Packaging

เป็นหนังสือที่น่าสนใจอย่างมาก สำหรับผุ้ที่ชอบเกี่ยวกับการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม
คู่มือ การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม(Manual for Eco Design Packaging)
ประกอบไปด้วยรายละเอียดที่เกี่ยวกับกลยุทธ์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อสิ่งแวดล้อม ดังนี้
- ออกแบบเพื่อลดส่วนประกอบที่เกินความจำเป็นในการบรรจุภัณฑ์
- ออกแบบให้บรรจุภัณฑ์มีน้ำหนักเบา ใช้วัสดุน้อย
- ออกแบบเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ ผลิตใหม่ รีไซเคิลและสามารถกำจัดทิ้งได้อย่างปลอดภัย
- ออกแบบโดยไม่ใช้บรรจุภัณฑ์
- ออกแบบให้สินค้ามีความเข้มข้นสูงหรือลดปริมาณน้ำ
- ออกแบบให้มีการรวมกลุ่มสินค้าต่อหน่วยบรรจุภัณฑ์
- ออกแบบให้ลดจำนวนสีที่ใช้พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์
เดี่ยวจะลองหาตัวอย่างภายในเล่มมาให้ดู เพราะสนใจเป็นการส่วนตัวและอาจจะได้ความรุ้บางอย่างจากภายในเล่มนี้ด้วยก็เปนได้
วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2551
Helios House, BP gas station

ปั๊มน้ำมันBP แห่งนี้ได้ออกแบบเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยสถาปนิกมีความคิดที่ให้ปั๊มนี้เปรียบเสมือน lerning lab เพื่อให้ผู้มาใช้ ได้เข้าใจ และศึกษาเรื่องสภาพแวดล้อมมากยิ่งขึ้น การใช้น้ำ การทำความร้อน การใช้พลังงาน การให้แสงสว่าง และ การเลือกใช้วัสดุของอาคารนี้ ได้ถูกออกแบบเพื่อให้มีประสิทธิภาพดีที่สุด
ที่ตั้งนี้เคยเป็นปั้มน้ำมันเก่ามาก่อน เป้าหมายที่สร้างprojectนี้ขึ้นมา เพราะต้องการอัพเกรดปั้มน้ำมัน โดยยังคำนึงถึงสภาพแวดล้อม โดยใช้วิธีrecycleจากวัสดุเก่า และใช้วัสดุใหม่เพิ่มเตมที่มั่นคง ถาวร แต่สามารถนำไปrecycleได้ในภายหลัง ผู้ออกแบบได้คำนึงถึงด้าน urban design ที่คิดถึงเรื่องสภาพแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ภายในตัวปั้มน้ำมัน ผู้ออกแบบได้พยายามใช้ส่วนประกอบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้าไปในโปรเจค และพยายามใช้ของเดิมที่มีอยุ่แล้วมากที่สุด ส่วนการติดตั้ง ทีมงานได้พยายามคิดวิธีติดตั้งให้ประหยัดเงิน แรงงาน และวัสดุให้น้อยที่สุดส้มแบบ

น้ำ-ปั้มน้ำมันแห่งนี้ได้ออกแบบโดยมีการกักเก็บน้ำฝนโดยไม่ให้ไหลออกนอกsite เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนที่ตกลงมาปนเปื้อนคราบน้ำมันและไหลลงมาสู่ทางระบาน้ำสาธารณะ ส่วนนำที่กักไว้ก็ได้นำมากรอง บำบัดและเก็บไว้ในถังใต้ดิน 2,000 แกลลอน เพื่อนำมาใช้รดน้ำต้นไม้ต่อไป ส่วนห้องน้ำใช้สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำท้งหมด โถส้วมแบบdual flush ก๊อกน้ำแบบอัตโมต และการไหลของน้ำต่ำ


ความร้อนและพลังงาน - บนหลังคาได้ติดตั้ง solar panel ไว้90แผง ผลิตไฟฟ้าได้15,000kwh ซึ่งเพียงพอต่อปั๊มนี้ โคมไฟที่ใช้ก็เป็นแบบประหยัดพลังงานทั้งหมด การใช้stainless steel ที่หลังคาก็ช่วยสะท้อนแสงลงมาสู่พื้นเพื่อเพิ่มความสว่างได้

วัสดุ - วัสดุที่ใช้เป็นแบบ green material หลังคานำไปrecycleได้ พื้นคอนกรีตก้อมีส่วนผสมของแก้วที่ถูกrecycle ซึ่งก้อได้effectจากแก้วนั้นสะท้อนแสงระยิบระยับและก้อได้ช่วยลดปริมาณทรายที่ผสมในคอนกรีตด้วย
วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2551
start! comV

ปัจจุบัน BP Helios House ได้รับยกย่องจาก U.S. Green Building Council ให้เป็นผู้นำด้านดีไซน์เพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม การันตีโดยเครื่องหมาย LEED (Leadership in Energy and EnvironmentalDesign) และจะเป็นปั๊มตัวอย่างที่ BP ถอดแบบไปปรับปรุงปั๊มสาขาอื่นๆในอนาคตด้วย
วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
Positive = Negative



ในแต่ละภาพนั้นได้ถ่ายทอดแบบมองได้สองด้านทั้งด้านบวกและด้านลบ ในแง่ภายในภาพคือมองเห็นถึงการรักษา การห่วงใยลูก และความสุข ในแง่ลบก้อคือท่าทำการกระทำแบบนี้ถ้าไม่ระวังอาจติดโรคเอดส์ได้(แต่ในตัวงานอาจารย์ได้วิจารณ์ว่ายังไม่สื่อในการมองสองมุมเท่าที่ควร)

แก้ไขวีดีโอจากเดิม นำเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องและนำส่วนที่ดูแล้วตลกออก
ปล. ย่อไฟล์เล็กลง เสียงเลยหายไป
วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ประจำทาง Magazine

ประจำทาง magazine
เป็น final project ของวิชาEditorial โจทย์คือทำนิตยสารที่ไม่เคยมีการตีพิมพ์มาก่อน ภายในกลุ่มจึงคิดสรุปทำหนังสือสำหรับผู้ที่มักใช้รถประจำทางในการเดินทาง เพราะคิดว่าในแต่ละเส้นทางของสายรถเมล์ และภายในรถ เรื่องราวต่างๆนั้นมีอะไรน่าสนใจเยอะ จึงทำนิตยสารรายเดือน ภายในหนึ่งเดือนก้อจะเปนรถเมล์แต่ละสาย ว่ามีเรื่องราวน่าสนใจอย่างไรบ้างของแต่ละสาย และสายนั้นๆผ่านสถานที่ต่างๆ มีที่ใดน่าสนใจยังงัยบ้าง และภายในเล่มก้อมีคอลัมน์อื่นๆที่น่าสนใจเพิ่มเติม
p4324.jpg)
หน้าปกประจำทาง เล่มแรก ฉบับสาย8(แฮปปี้แลนด์ - สะพานพุทธฯ)
ที่เลือกสาย8มาทำเพราะ รถประจำทางสาย8มีเรื่องราวให้พูดถึงที่น่าสนใจเยอะ เช่น รถเมล์นรก คนขับไร้มารยาท เลยเป็นที่น่าสนใจ จึงได้ทำสาย8เปนฉบับส่ง
ภายในเล่ม
p4325.jpg)
p4326.jpg)
p4327.jpg)
p4328.jpg)
วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
สลับหน้าที่มั้ย

เคยสังเกตุกันบ้างมั้ยเพือนนนน. . . โลโก้ 7-ELEVEn
ว่าทำไม ตัว n ที่อยู่ข้างหลังสุด ถึงต้องเป็นตัวเล็ก?
งงละเสะ??? จำได้รึป่าว เคยเห็นบ้างมั้ย ??? เพื่อนลองวิ่งไปดูดิว่าใช่รึป่าววว
พอดีไปอ่านเจอมา ก้อขอเอามาโพสไว้เพราะเราเองก้อไม่ค่อยเป็นคนที่จะชอบสังเกตุ แต่พออ่านปุ๊บ!! ก้อคิดว่ามันมีอารัยเล็กๆน้อยๆอยุ่ในชีวิตเรา ควรหัดสังเกตุบ้างมันน่าสนใจเยอะ อันนี้เอามาโพสไว้เชื่อว่าหลายๆคนก้อไม่ค่อยเห็นกันหรอก แต่คัยที่รู้แล้วก้อผ่านไป(คิดงานไม่ออกมานก้อไหลไปเรื่อยยย..)
อ้ะ!! หลายคน พอเห็นแล้ว คิดในใจ “เออ จริงด้วยว่ะ” บางท่านตอนนี้อาจจะรีบวิ่งไปดูที่หน้าปากซอย “เฮ้ย มันจริงแน่รึเปล่าวะ มาหลอกกันเล่นรึเปล่า ทำไมเดินผ่านอยู่ทุกวันๆ ไม่เคยเห็น” เอ้ะ!!ยังงัย
แล้วตกลง ทำไม n ถึงต้องเป็นตัวพิมพ์เล็กอยู่ตัวเดียวด้วย??
เหตุผลเค้าบอกไว้ว่า มีตำนานอันหนึ่งกล่าวว่า ผู้เป็นเจ้าของ 7-ELEVEn มีความเชื่อในเรื่องฮวงจุ้ย จึงได้เลือกใช้อักษร n ตัวเล็ก แทนที่จะเป็น N ตัวใหญ่ ทั้งนี้ก็เพราะ n เล็ก มีรูปร่างคล้ายกับแม่เหล็ก (ที่เป็นทรงเกือกม้า) จะได้ทำหน้าที่เป็นเหมือนกับตัวดูดเงินดูดทองเข้าร้าน คอยนำมาซึ่งโชคลาภความเจริญรุ่งเรืองต่างๆ ให้แก่กิจการสืบไป
ฟังดูก้อเป็นเหตุเป็นผลกัน แต่มันแหม่งๆๆรึป่าว - -"
เพราะเวลาพูดถึงเจ้าของเซเว่น เราก็มักจะนึกถึงภาพพวกอาเสี่ยที่ซีพี ซึ่งมีความเป็นไปได้อย่างสูงที่จะเชื่อเรื่องฮวงจุ้ยถึงกับขนาดจ้างซินแสมาช่วยออกแบบโลโก้
แต่พอลองคิดดูอีกที.. เฮ่ย เจ้าของเซเว่นตัวจริงมันไม่ใช่ชาวไทยเชื้อสายจีนนี่หว่า จริงๆ แล้วมันเป็นชาวเมกันเชื้อสายฝรั่งอยู่ที่เท็กซัสไม่ใช่เรอะ ชื่อเซเว่นก็ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1946 แล้ว สมัยนั้นจะบอกว่าฮวงจุ้ยฮิตไปถึงที่นู่นได้มันก็กะไรอยู่
แต่ไม่ต้องสงสัยเค้าได้บอกเหตุผลที่แท้จริงของมันไว้แล้ว
มีผู้สงสัยท่านนึง เขาไปค้นคว้ามาแล้วก็มาสรุปบอกว่า เรื่องราวทั้งหมด จริงๆ เป็นแค่เรื่องที่แต่งขึ้นมามั่วๆ โดยนักศึกษาไต้หวันที่วันๆไม่มีอะไรทำ (ว่างมากช่วยคิดcom4มั้ย) แต่งขึ้นมาขำๆ เสร็จแล้วเผอิญเรื่องมันได้รับการแพร่ขยายไปเรื่อยๆ ทาง forward email จนในที่สุดคนเกิดเชื่อเป็นตุเป็นตะกันไปทั่วโลก
ตัวเขาบอกว่า เขาเองก็ไม่รู้เหมือนกัน ว่า n เล็กนี้ แท้จริงแล้วมันมีที่มายังไงกันแน่ แต่ถ้าให้เดา คิดว่ามันน่าจะเป็นการออกแบบเพื่อความสวยงามเฉยๆ มากกว่า จะให้รู้ชัดไปเลย คงต้องไปลักพาตัวคนก่อตั้งมาถามให้มันแจ่มแจ้ง ต้องขอบคุณที่บ้านไอ้หนุ่มมีอินเตอร์เน็ต เขาเลยเลือกใช้วิธีส่งอีเมลไปถามที่บริษัทเซเว่นอิเลเว่นสาขาใหญ่แทน คำตอบที่ได้รับมา ไอ้หนุ่มเอามาโพสต์ไว้ที่เว็บบอร์ดของ Japundit.com ถ้าอยากอ่านเวอร์ชั่นจริงก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ลิงค์ดังต่อไปนี้ http://japundit.com/archives/2005/06/28/795/
ผลปรากฏว่า คนที่ตอบอีเมลมาคือคุณ Margaret Chabris ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ของเซเว่นอิเลเว่นสาขาใหญ่ที่เมืองดัลลัส ในรัฐเท็กซัส* เธอบอกว่า ได้อีเมลต่อไปถามหลานชายของผู้ก่อตั้งบริษัท ซึ่งก็ได้ไปถามพ่อของตัวเองซึ่งเคยเป็นอดีตประธานบริษัทมาอีกต่อหนึ่ง สรุปแล้วได้คำตอบมาว่า เดิมทีเดียวนั้น คำว่า ELEVEN ในโลโก้อันเก่าๆ ล้วนเขียนด้วยตัวใหญ่ทั้งหมด แต่พอมีการปรับเปลี่ยนโลโก้ใหม่ในยุค 1960s นักออกแบบเค้าแนะนำ บอกว่า ตัว N ใหญ่ มันเหลี่ยมจัด แลดูแข็งกระด้างเกินไป ไม่สวย ให้เปลี่ยนใหม่มาเป็นตัว n เล็ก จะได้ดูซอฟขึ้น สมูธขึ้น มีส่วนโค้งส่วนเว้า เย้ายวนยิ่งขึ้น..
และนั่นก็คือที่มาทั้งหมดของโลโก้ที่ท่านเห็นอยู่ในปัจจุบัน หาได้มีอันใดเกี่ยวข้องกับฮวงจุ้ยแม้แต่เพียงน้อยนิด แต่ในเรื่องชื่อทำไมต้อง 7-ELEVEn หลายคนน่าจะรู้แล้วก้อขอไม่บอกละกัน(เด่วบทความจะยาวมากไปจนไม่มีคนอยากอ่าน หะหะ)
(ที่มา www.onopen.com)

โลโก้ดั้งเดิม
Nเปลี่ยนเป็น n ก้อมีการสลับหน้าที่ (มั้ย??)จากความแข็งกระด้าง เปลี่ยนเป็น smoothขึ้น ลื่นไหลจนบางทีไม่สังเกตุก้อไม่รู้นะนั่น
การตัดสินครั้งสุดท้ายกับ CD4
จากอาทิตย์ที่แล้วที่เสนอแล้วไม่ผ่านเพราะระบบการคิดยังไม่ดี เกิดการก้าวกระโดด เริ่มจากการมองเห็นจุลภาคขนาดเล็กไปสู่ความผิดปกติทางการมองเห็นแบบตาบอดสีเพราะอยากจะรีบทำให้จบ และคิดไปเองว่ามันน่าจะใช้ได้
ครั้งนี้ผมจึงเริ่มใหม่อีกครั้ง คิดเริ่มจาก macroและmicro ตีความแบบง่ายๆ ใหญ่ กับ เล็ก
สิ่งที่มีขนาดใหญ่มากและสิ่งที่มีขนาดเล็ก ใหญ่ เล็ก ถ้าสิ่ง2สิ่งนี้เปลี่ยนหน้าที่กันจะเป็นอย่างไร
เฮ้ออ...
คิด
คิด
คิด
วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551
จุลภาค สู่ มหภาค

อ่านเจอบทความที่เกี่ยวกับ"จุลภาค" และ "มหภาค"มา ถึงจะไม่เกี่ยวกับที่เราต้องเรียนรู้มากนัก แต่มันก้อมีประโยชน์สักกะหน่อยนึง ความว่า
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้การดำเนินชีวิตของเราๆ ท่านๆ เปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทเข้ามาอยู่ในเมืองใหญ่ เพราะความจำเป็นในหน้าที่การงานการทำมาหากิน พื้นที่ที่เคยเป็นเรือกสวนไร่นาได้แปรเปลี่ยนไปเป็นตึกรามบ้านช่องทั้งเล็กทั้งใหญ่ ปลูกกันขึ้นเต็มไปหมด เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพเมื่อ 10-20 ปีก่อนอย่างไม่เหลือเค้าเดิม
กระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงที่มีมาทุกยุคทุกสมัย ทำให้กระบวนการคิดแก้ปัญหาจัดวางตำแหน่ง, ทำเลและที่อยู่อาศัยด้าน "เคหะศาสตร์" เองก็จำเป็นต้องมีการนำมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิผลตามสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปด้วย แม้ว่าในปัจจุบันไม่มีภูเขาหรือเนินดิน ไม่มีสายน้ำลำธารให้เห็น แต่ในทฤษฎีสายน้ำและภูเขาสามารถประยุกต์ใช้ได้กับสภาพที่เปลี่ยนไป ตึกสูงๆ จะกลายเป็นสัญลักษณ์แทนภูเขา มีความสูงสง่าเช่นกัน ถนนหนทางมีการไหลเวียนของยวดยาน เป็นสัญลักษณ์แทนสายน้ำ พื้นที่ที่มีข้างหลังเป็นภูเขา (ตึกสูง) มีการไหลเวียนของน้ำ (สภาวะการจราจรของยวดยานพาหนะบนถนนไม่ติดขัด) ย่อมส่งผลดีต่อการอยู่อาศัยและการค้าขาย เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงรอบๆ ด้านส่งผลให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงผิดปกติไป บางแห่งเกิดมลภาวะที่เป็นพิษ ทำให้ผู้อยู่อาศัยเจ็บป่วยทั้งกายและจิตใจ ในเมืองใหญ่ๆ ของประเทศ การจราจรเกิดความล่าช้าและติดขัด (ก่อให้เกิดสภาวะน้ำนิ่ง หากเปรียบถนนเป็นเสมือนสายน้ำ, รถยนต์ก็เปรียบเสมือนเรือทำนองนั้น หากน้ำนิ่งไม่ไหลเวียนตามหลักเคหะศาสตร์ท่านว่าไม่ดี น้ำจะเน่าเสียและมีกลิ่นไม่พึงประสงค์) ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อหลายๆ สิ่ง ทำให้เกิดความล่าช้าในการติดต่อสัมพันธ์หรือทำธุรกิจ ทำให้ประเทศสิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจปีละหลายพันล้านบาท
ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาล้วนเป็นผลสะท้อนจากการกระทำของเราต่อสภาพแวดล้อมทั้งสิ้น หากเราช่วยกันปรับสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น ช่วยกันคนละไม้ละมือ นับว่าเป็น "เคหะศาสตร์มหภาค" ที่เกิดจาก "เคหะศาสตร์จุลภาค" โดยเริ่มจากจุดเล็กๆ ช่วยกันสร้างจนเป็นพลังที่ใหญ่ ส่งผลให้พลังชีวิตดี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีความเจริญรุ่งเรืองย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551
เราอยู่ที่จุดไหน??
วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551
วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551
happy new year 2008

& happy new year 2008,
ในช่วงหยุดปีใหม่ผมกอ้ได้ทดลองงาน ไปเรื่อยๆ เพื่อหาประเดน ทำโปรเจคให้ได้ก่อนโดนเชือด แต่จนบัดนี้แร้วประเดนที่แสวงหาอยุ่นั้นก้อไม่ค้นพบสักที ดูจากบริบทตัวงานแร้วแต่ก้อยังตัน หัวตื้อ พอจะเข้าเรื่องวิชาการ ใช้ความรู้ สมองมันก้อไม่ทำงาน ส่วนตอนนี้ก้อทดลองหาเทคนิควิธีแปลกๆให้เกิดการซ้ำขึ้น แต่คงต้องพายามต่อไป เพื่อสิ่งนี้
ที่แน่ๆชัวๆเรยไม่ถึง500ชิ้น(- -")
งานทดลอง