วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

หมดสมัยโกอินเตอร์

ไปเจอบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์กราฟิกมาให้ได้อ่าน ที่นำบทความนี้มาเพราะเป็นด้านที่ผมชอบ มีความสนใจ และอยากให้ผู้ที่อ่านได้รู้ข่าวคราวและประโยชน์เล็กๆจากบทความในวงการนี้
ถึงเวลาอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์กราฟิกระดับโลกหันมามองเมืองไทยแล้วจริงหรือไม่ พบคำตอบจากปากCG เบื้องหลังงานฮอลลีวูดที่หันมาก่อตั้งบริษัทด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกในประเทศไทย
สุภณวิชญ์ สมสมาน หรือ “Juck Somsaman” ผู้ปลุกปั้นเจ้าเหมียวสุดแสบ Garfield และน้องหมาฮากระจาย Scooby-Doo ที่ตัดสินใจหวนคืนรังหลังโกอินเตอร์ในสหรัฐฯตลอด 16 ปีที่ผ่านมา

หมดสมัยโกอินเตอร์?
สุภณวิชญ์ สมสมาน หรือ“จั๊ก" ใช้เวลา 16 ปีสร้างชื่อ "Juck Somsaman” จนเป็นที่รู้จักในวงการซีจีอเมริกัน ด้วยผลงานภาพยนตร์ระดับ Box office กว่า 30 เรื่อง เช่น Scooby-Doo และ Garfield ทั้ง 2 ภาค, Superman Return, Narnia และ Night at the Museum แม้ตัวเองจะโกอินเตอร์นานหลายปีแต่จั๊กยืนยันว่าความคิดโกอินเตอร์เป็นเรื่องล้าสมัยไปแล้วในขณะนี้
"เราไม่ต้องไปหาฮอลลีวูด แต่ฮอลลีวูดต้องมาหาเรา ความคิดโกอินเตอร์ล้าสมัยไปแล้ว เทคโนโลยีทำให้เราคิดแบบนี้ได้ ทุกอย่างอยู่ที่ความตั้งใจ ความมุ่งมั่น"
แม้จะกลับมาก่อตั้งบริษัทในเมืองไทยตั้งแต่ต้นปี แต่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้จั๊กรู้สึกว่าตัวเองยังอยู่สหรัฐฯ ยังสามารถติดต่อเพื่อนร่วมงานต่างชาติได้จากโปรแกรมแชต และสามารถโทรศัพท์พูดคุยในราคาไม่แพงได้เพราะบริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้ทำให้จั๊กมองว่าเทคโนโลยีทำให้คนทำงานจากที่ใดก็ได้ในมุมโลก ต่างกับในอดีตที่วงการ CG บ้านเรายังไม่มีทิศทางไป
"ตอนไปสหรัฐฯเมื่อ 18 ปีที่แล้ว ไม่มีใครในเมืองไทยให้โอกาส เราต้องไปสู้"
จั๊กเล่าว่าหลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่คณะครุศาสตร์ (ศิลปะ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำงานเป็นช่างภาพอิสระก่อนตัดสินใจบินข้ามน้ำข้ามทะเลไปใช้ชีวิตที่สหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโท โดยตั้งใจไปเรียนด้านภาพยนตร์
แต่ด้วยความชอบจึงเปลี่ยนไปเรียนสาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก ศาสตร์แขนงใหม่ในขณะนั้นที่ School of Visual Arts, New York สาขา Visual Effect จากนั้นจึงปักหลักที่ลอสแองเจลลิส หลังจากที่ผลงานวิทยานิพนธ์หนังสั้นคอมพิวเตอร์กราฟิกของจั๊กเข้าตาบริษัท Visual Effect นาม Rhythm & Hues Studios อย่างจัง
จุดเปลี่ยนที่ทำให้จั๊กตัดสินใจหวนคืนรัง คือการได้รับมอบหมายให้พัฒนาทักษะและฝีมือพนักงานของ Rhythm & Hues Studios สาขาเมืองมุมไบ ประเทศอินเดียกว่า 150 คน ควบคู่ไปกับการดูแลการทำ CG ภาพยนตร์เรื่อง Garfield 2 และ Night at the Museum ซึ่งใช้เวลา 8 เดือนในอินเดีย รับผิดชอบการทำงานควบคู่ไปกับการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคนิค
“ผมฝึกคนอินเดียได้ จึงคิดจะกลับมาฝึกคนไทย เพื่อถ่ายทอดเทคนิคต่างๆเหมือนกับที่ทำจนประสบผลสำเร็จมาแล้วที่อินเดีย” จั๊กเล่าถึงแรงดลใจในการตั้งบริษัท The Monk Studio ขึ้นในเมืองไทยเมื่อต้นปี "ผมกลับมาทำสิ่งที่อยากทำ มาเปิดประตูให้คนที่อยากทำ CG ตามมา"
กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ใช่ว่าทางจะโรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป งานทุกงานเมื่อได้ลงมือกระทำแล้วมักต้องพบกับ อุปสรรคแทบทั้งนั้น เช่นเดียวกับจั๊กที่พบว่า ปัญหาใหญ่ของบริษัทไม่ได้อยู่ที่คู่แข่ง แต่อยู่ที่มูลค่าซอฟต์แวร์ CG แสนแพงในเมืองไทย
“บริษัท CG ไทยไม่ได้แย่งตลาดกันเอง มีแต่หาทางร่วมมือกัน เราโดนมาเลเซีย-อินโดนีเซียตัดราคามากกว่า” จั๊กเล่า “อุปสรรคใหญ่คือลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ CG ในเมืองไทยแพงมาก เทียบในแง่ของสัดส่วน อย่างที่อเมริกา ราคาซอฟต์แวร์จะเทียบเท่ากับ 5 % ของเงินเดือนคนทำ CG แต่สำหรับของไทยอยู่ที่ 40–50% ของเงินเดือน เราแก้ปัญหาจุดนี้ด้วยการหันไปหาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส หลีกเลี่ยงหรือใช้ซอฟต์แวร์ราคาแพงให้น้อยที่สุด"
จั๊กไม่เปิดเผยทุนก่อตั้งบริษัท แต่ระบุว่าใช้คอมพิวเตอร์พีซีระบบปฏิบัติการลินุกซ์ในบริษัทเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช้คอมพิวเตอร์แมคอินทอชที่นิยมกันมากในบริษัทด้านออกแบบเนื่องจากราคาแพง โดยอุปสรรคอีกเรื่องที่จั๊กพบคือบุคลากร ยอมรับว่าขณะนี้หามือ CG ระดับหัวกะทิในเมืองไทยได้น้อยมากเมื่อเทียบกับสัดส่วนที่มีอยู่
ดึงลูกค้าพัฒนาหัวกะทิ
"ที่ผ่านมา เรารับงานเฉพาะที่จะสามารถพัฒนาบุคลากรของเราได้ งานที่ทำสามวันได้แต่เงินเราไม่ต้องการ เราต้องการงานที่จะทำให้บุคลากรของเรามีงานทำต่อไปอีก 5 ปี" โดยงานเหล่านี้จั๊กเล่าว่าส่วนใหญ่ได้มาจากความไว้เนื้อเชื่อใจของสายสัมพันธ์ในวงการที่จั๊กมีอยู่ "เราเอาลูกค้าสร้างอินฟราสตรัคเจอร์ สร้างความสามารถให้บุคลากรเราทำเองได้"
ไม่เพียงไม่รับงานด่วน จั๊กยังประกาศจุดยืนว่า The Monk Studio ไม่รับงานโฆษณาเหล้า-บุหรี่
"เราไม่ทำ เพราะไม่ใช่สไตล์เรา ผมชอบทำงานให้เด็กดู อย่างนาร์เนีย หรือ Night at the Museum ผมไม่ค่อยอิน แต่จะอินกับ Scooby-Doo หรือ Garfield เพราะหนังพวกนี้เด็กๆชอบมาก ผมอยากทำให้เด็กทั้งโลกดู ไม่ใช่แค่เด็กไทย"
จั๊กเชื่อว่าความฝันของ CG เมืองไทยอยู่ที่เด็กในมหาวิทยาลัยขณะนี้ ถ้อยคำฝากถึงอนาคตของชาติจากจั๊กในวันนี้คือ “เร็วๆหน่อยครับ อย่าลืมพกภาษามาด้วย” เนื่องจากความรู้ภาษาอังกฤษคือส่วนผสมสำคัญที่จั๊กมองว่าหัวกะทิ CG รุ่นใหม่ของไทยควรมี
****คนไทยทีมเวิร์กเยี่ยม

จากบทความก้ออาจบอกได้ว่า วงการคอมพิวเตอร์กราฟิกในไทยอาจมีการเติบโตที่ดีในเรวๆนี้ และที่สำคัญภาษามีความสำคัญกับCGรุ่นใหม่และในทุกอาชีพ(ดูได้จากการเรียนที่ผ่านมาเป็นอีกหนึ่งเหตุผล ว่าเรื่องภาษาสำคัญจริง) และผมหวังว่าคอมพิวเตอร์กราฟิกของไทยซักวันจะไปแข่งกับชาวต่างชาติได้ ไปตีตลาดโลก ให้รู้ว่าCGของไทยก้อมีความสามารถไม่แพ้ชาติไหนๆ แต่มันก้ออยุ่ที่คนสนับสนุนว่าต้องการงานด้านนี้หรือป่าว เปนปัญหาที่ใหญ่สุดจิงๆ


มาทำความรู้จัก “The Monk Studio” ของJuck Somsaman พกภาษาเข้าไปอ่านด้วยนะคับ

http://www.themonkstudio.com/homepage_ok.html


ไม่มีความคิดเห็น: