วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

The Laws of Simplicity ปวดหัวจิง~

จากสัปดาห์ที่ผ่านมา ความเครียดในการทำงานก้อลดลง รุ้สึกโล่งงงง...(นิดนึง)เพราะได้ข้อมูลวิเคราะห์ มาถูกทางแต่ยังไม่100% จึงคิดว่าจะวิเคราะห์ให้ละเอียดจากข้อมูลที่หาในครั้งที่แล้ว "กฎของความเรียบง่าย" เพราะ เรายังได้ข้อมูลแค่ผิวเผิน และแร้วเราก้อได้หนังสือ"The Laws of Simplicity"ฉบับเตมมา ต้องขอขอบ คุณอ.ติ๊ก ที่ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญกับกลุ่ม แต่ก้อมาตายเพราะเปิดมาก้อเจอกับภาษาที่คุ้นเคยทั้งเล่ม ล้วนๆ จึงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับกลุ่มที่ต้องพยายามสรรหาวิธีในการแปลทั้งเล่มภายในเวลาอันสั้น - -" แต่สุดท้ายเราก้อหาวิธีแปลได้
เมื่อได้ข้อมูลแล้วจึงเริ่มคิดตามแนวทางที่ได้จาก อ.ติ๊กและ อ.มะลิ เราจึงคิดว่าจะนำข้มูล "The Laws of Simplicity" มาวิเคราะห์วิจารย์กับตัวผลงานของมาเอดะและดูผลกระทบในงาน

"The Laws of Simplicity" (เพิ่มเติมจากครั้งที่แล้ว)
1.การลด reduce
ทางที่ง่ายที่สุดในการสร้างความเรียบง่ายคือการลดอย่างมีการไตร่ตรองไว้หรือการเอาระบบการอื่นๆออก

2.จัดระบบ organize
การจัดระบบเป็นการทำสิ่งต่างๆที่มีอยู่มากมายให้น้อยลง เป็นแนวความคิด อาจจัดระบบโดยการจัดกลุ่ม จากที่ดูเยอะๆกระจัด กระจาย มันก้อจะทำให้ดูน้อยลงได้เกิดความเรียบง่าย

3.เวลา Time
เป็นการลดเวลาการทำสิ่งที่ไม่จำเป็น เพื่อบอกว่าการตอบสนองความเร็วเป็นการสนับสนุนในการสร้างความ เรียบง่าย การลดเวลาถือว่าเป็นสิ่งเรียบง่ายและราชอบแบบนั้น แต่ว่ามันเกิดขึ้นยาก

4.การเรียนรู้ Learn
ในการทำอะไรบางอย่างอาจเป็นสิ่งที่ง่ายมาก แต่ถ้าคุนไม่ได้เรียนรู้มาก่อนก้ออาจเป็นการทำสิ่งที่ยาก ความรู้จึงเปนการทำสิ่งต่างๆให้ง่ายขึ้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอ การรอ่านซ้ำ ทำซ้ำบ่อยๆก้อเปนการเรียนรู้ เพราะจะทำสิ่งที่ มากลดน้อยลงและทำให้มันง่ายขึ้น คือลดสิ่งที่สามารถลดทอนได้ให้เหลือแต่เนื้อหาจริงๆ และแรงบันดาลใจนั้น ถือว่าเป็นสารกระตุ้นที่สำคัญในการเรียนรู้
จากกฎข้อ4นี้ทำให้วิเคราะห์ได้ว่า การที่John Maedaส้รางกฎของความเรียบง่าย แต่ในตัวผลงานส่วนใหญ่ ก้อจะมีอะรัยที่เยอะ ซ้ำๆกัน จากข้อนี้ก้อบอกได้ว่าการทำซ้ำๆก้อเปนความเรียบง่ายเพราะทำให้ลดทอนและเหลือ แต่เนื้อหาจริงๆ

5.ความแตกต่าง Differences
ความเรียบง่ายและความซับซ้อนเป็นของคู่กัน การรับรู้ความแตกต่างช่วยให้เราบอกคุณภาพที่เราต้องการ ซึ่งขึ้นอยู่ กับการเปลี่ยนแปลงสิ่งนั้น เหมือนกับว่าถ้ามีแต่ความเรียบง่าย ไม่เกิดความแตกต่าง ไม่เกิดความซับซ้อนเราก้อจะไม่รู้ ว่าความเรียบง่ายที่แท้จริงเปนยังงัย

6.สิ่งแวดล้อม Context
สิ่งที่อยู่รอบนอกของความเรียบง่ายมีความสำคัญเท่ากันกับสิ่งที่อยู่ภายใน การมองสภาพแวดล้อมให้ทั่วๆ

7.อารมณ์ Emotion
อารมณ์หลากหลายย่อมดีกว่าไม่มีเลย มาเอดะได้บอกถึงความขัดแย้งต่อความเรียบง่าย ว่าความเรียบง่ายอาจถูกมองว่าน่าเกลียด ดูธรรมดา ความเรียบง่ายเมื่อดูแล้วไม่มีรายละเอียดอะไร มันจึงมองว่าดูราคาถูก แต่ในทางกลับกันอาจมองได้ว่าความเรียบง่ายก่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐศาสตร์ วัตถุที่เรียบง่ายเมื่อผลิตอาจมีต้นทุนถูก แต่ได้ราคา

8.ความเชื่อใจ Trust
เราเชื่อใจในความเรียบง่าย ต้องให้ความเชื่อใจ ความไว้วางใจแก่ระบบ และต้องไว้วางใจอย่างสม่ำเสมอ เรียนรู้ที่จะเชื่อความรู้ของเราเอง

9.ความล้มเหลว Failure
บางอย่างไม่สามารถทำให้ง่ายได้ ความล้มเหลวมันสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อเจอกับความล้มเหลว คุณควรเรียนรู้ที่จะยอมรับมัน และเมื่อค้นหาจะได้สิ่งที่ดีๆกับคุณ

10.ความเป็นหนึ่ง The one
ความเรียบง่ายคือการลดสิ่งที่เห็นได้ชัดออกและเพิ่มความหมายลงไป ความเป็นหนึ่งเดียวเป็นวิธีที่ง่าย

ไม่มีความคิดเห็น: